มาตราส่วน
ในงานออกแบบภายในนิยมใช้มาตราส่วน 1:50 และ 1:100 สำหรับการเขียนผังพื้นอาคารพักอาศัย ทั้งนี้ต้องดูให้พอเหมาะกับหน้ากระดาษด้วย โดยทั่วไปถ้าอาคารขนาดเล็กใช้มาตราส่วน 1:50 ถ้าอาคารขนาดใหญ่ขึ้นใช้มาตราส่วน 1:100 และถ้าอาคารมีขนาดใหญ่มาก เช่น ผังพื้นของโรงงานขนาดใหญ่ ใช้มาตราส่วน 1:200 ได้ และเมื่อใช้มาตราส่วน 1:50 กับผังพื้น ก็ควรใช้มาตราส่วน 1:50 กับแบบอื่น ๆ ทั้งอาคารด้วย
โดยแบ่งมาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- มาตราส่วนจริง ขนาดของชิ้นงานที่เขียนแบบจะมีขนาดเท่าของจริง สัญลกัษณ์ 1 : 1
- มาตรราส่วนย่อ ขนาดของแบบงานจะย่อเล็กลงตามความเหมาะสม สัญลกัษณ์ 1 : 50
- มาตราส่วนขยาย ขนาดของแบบงานจะขยายใหญ่กว่า แบบจริงที่กำหนด สัญลกัษณ์ 2 : 1
เส้น
ต้องคำนึงถึงความสม่ำเสมอของเส้น น้ำหนัก หรือความหนาของเส้นที่ใช้เฉพาะงาน และคุณภาพของเส้น
ความหนาของเส้น เส้นที่เขียนในแบบควรมีความหนาต่างกันตามความหมายโดยเฉพาะของเส้นนั้นเช่น เส้นหนามาก ควรใช้แสดงเป็นเส้นขอบนอกของรูปตัด เส้นบางใช้เขียนเส้นมิติ เป็นต้น
ชนิดของเส้นมีดังนี้ เส้นบาง เส้นหนา เส้นหนามาก ความหนาของเส้นที่ใช้มีขนาด 0.13, 0.18, 0.25, 0.35,
0.5, 0.7, 1.0, 1.4 และ 2.0 มิลลิเมตร
ความหนาของเส้นที่ใช้ในแต่ละแบบใช้ทั้ง 3 ขนาดตามอัตราส่วน 1:2:4 เช่น เส้นบาง ใช้ขนาดเส้น 0.13 มิลลิเมตร เส้นหนา ใช้ขนาดเส้น 0.25 มิลลิเมตร เส้นหนามาก ใช้ขนาดเส้น 0.5 มิลลิเมต
หรือถ้าเป็นรูปที่มาตราส่วนขยายใหญ่ขึ้นเป็น 1:20 ขนาดของเส้นที่ใช้ก็อาจใหญ่ขึ้นทั้ง 3 ขนาด เช่น ขนาด 0.18 มิลลิเมตร ขนาด 0.35 มิลลิเมตร และขนาด 0.7 มิลลิเมตร เป็นต้น
ถ้าใช้ดินสอ เส้นบางอาจจะใช้เกรด H เส้นหนาใช้ HB และเส้นหนามากใช้ B เมื่อเขียนบนกระดาษวาดเขียน เป็นต้น
สัญลักษณ์
สัญลักษณ์ที่เขียนในแบบก่อสร้าง